เราคงทราบกันดีถึงประโยชน์ของ Generative AI แล้วว่าสามารถช่วยในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆให้กับเราได้อย่างมากมาย แต่หากเรามีระบบที่พัฒนาไว้นานมาก หรืออาจจะเป็นระบบที่ใช้งานภายในโดยไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เราจะใช้ประโยชน์จาก Generative AI ได้อย่างไร
Generative AI คืออะไร?
Generative AI เป็นรูปแบบหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ที่ไม่ได้มีอยู่ในชุดข้อมูลเดิม ตัวอย่างของ Generative AI ที่ได้รับความนิยมมากคือ Generative Adversarial Networks (GANs) และ Variational Autoencoders (VAEs) ซึ่งถูกใช้ในการสร้างภาพ เสียง ข้อความ และแม้แต่โมเดล 3 มิติ หรือ Model Transformer ของ ChatGPT ที่ได้รับความนิยมสูงในการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เนื่องจากมีความสามารถในการจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่างคำและประโยคได้ดี
ประโยชน์หลักของ ChatGPT
เนื่องจาก AI เองมีหลายโมเดล ผมจึงขอพูดเฉพาะเจาะจงไปยัง Generative AI ที่เป็นที่นิยม และทำให้คนทั่วโลกรู้จักเอไอกันมากขึ้นแบบก้าวกระโดด นั่นก็คือ ChatGPT นั่นเอง
การนำ ChatGPT มาประยุกต์ใช้งาน ทำได้หลายวิธี ดังนี้
- การช่วยในการตอบคำถาม: ChatGPT สามารถตอบคำถามที่เกี่ยวข้องในหลากหลายหัวข้อได้ เช่น เทคโนโลยี, วิทยาศาสตร์, ประวัติศาสตร์, และอื่นๆ ที่ต้องการข้อมูลพื้นฐาน.
- การช่วยในการแก้ปัญหาทางเทคนิค: ใช้ ChatGPT เพื่อให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาทางเทคนิค หรือการหาข้อมูลที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น.
- การช่วยในการเรียนรู้และการศึกษา: นักเรียนและนักศึกษาสามารถใช้ ChatGPT เพื่อขอคำอธิบายเกี่ยวกับหัวข้อการเรียนรู้ที่ศึกษาอยู่ เช่น คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วรรณกรรม ฯลฯ
- การช่วยในการสร้างเนื้อหา: ChatGPT สามารถช่วยในการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง เช่น บทความ, บทวิจารณ์, หรือเนื้อหาสื่อต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตีพิมพ์หรือการเผยแพร่.
- การบริการลูกค้าและสนับสนุน: ใช้ ChatGPT เพื่อตอบคำถามและช่วยแก้ไขปัญหาของลูกค้า หรือสนับสนุนลูกค้าในการใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการ.
- การพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการดิจิทัล: นักพัฒนาสามารถนำ ChatGPT มาใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีส่วนประสมที่ใช้ในการติดต่อและปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ในลักษณะการสนทนา.
การใช้ ChatGPT จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ในหลากหลายภาคส่วนของชีวิตประจำวันและงานธุรกิจ
** หมายเหตุ การใช้งานข้อมูลที่ได้จาก Generative AI อาจมีความผิดพลาดได้ ก่อนนำข้อมูลไปใช้งานต่อจึงต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งก่อนนำไปใช้งาน
การเชื่อมโยง ChatGPT เข้ากับระบบ Legacy
ระบบ Legacy ที่แต่ละบริษัทใช้งานอยู่ อาจจะเป็นระบบที่พัฒนามานานแล้ว อาจจะใช้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ไม่รองรับการเชื่อมต่อกับ ChatGPT ในระดับโปรแกรม ทำให้ต้องมีการใช้งาน ChatGPT ผ่านเว็บ ซึ่งมีข้อเสีย หลายอย่าง เช่น
- ความปลอดภัยของข้อมูล เพราะเราไม่สามารถควบคุมการป้อนข้อมูลผ่าน web interface ของ ChatGPT ของผู้ใช้งานได้
- การเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างข้อมูลที่ต้องการให้ ChatGPT วิเคราะห์ จึงทำให้การส่งข้อมูลผ่าน web interface ทำได้แค่การ copy & paste ข้อมูลผ่านหน้าเว็บเท่านั้น
- ความสะดวกในการใช้งาน การใช้งาน web interface ของ ChatGPT เหมือนการทำงาน 2 ครั้ง ต้องมีการรับและส่งข้อมูลกับ ChatGPT แบบ Manual
เทคนิคเบื้องต้นในการเชื่อมระบบ Legacy กับ ChatGPT
- ใช้วิธีสร้าง middleware ที่สามารถรับข้อมูลจากระบบ Legacy และทำการเรียกใช้ API ของ ChatGPT
- ใช้วิธีดึงข้อมูลจากระบบ Legacy มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลชั่วคราว แล้วใช้ระบบ Queue ในการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อด้วย API ของ ChatGPT แล้วส่งผลลัพธ์กลับมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลชั่วคราว เพื่อให้ระบบ Legacy นำไปใช้งานต่อ
จะเห็นได้ว่า ระบบ Legacy เองก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จาก Generative AI อย่าง ChatGPT ได้ หากท่านผู้อ่านมีระบบ Legacy ในองค์กรแล้วสนใจต้องการเชื่อมต่อกับ ChatGPT เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ สามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง อีเมล info@software.in.th ตลอดเวลาครับ
Credit: Cover Photo by Firosnv. Photography on Unsplash